วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มารู้จักแล็บเรานะคะ


ราชพฤกษ์แล็บ เป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์ เปิดให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รองรับแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค ผู้รักและใส่ใจในสุขภาพ  เราบริการเจาะเลือดและบริการส่งผลตรวจให้ท่านถึงบ้าน แล็บของเราคำนึงถึงความสะดวกสบาย รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ให้บริการและตรวจสอบความถูกต้องทุกกระบวนการโดยนักเทคนิคการแพทย์ผู้ชำนาญการซึ่งอยู่ประจำตลอดเวลาทำการ

บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์

· ความสมบูรณ์เม็ดเลือด  (CBC)                                          

· ตรวจเบาหวาน  (Glucose)                                 

· การทำงานของไต  (BUN,Creatinine)                             

· ตรวจการทำงานของตับ (AST,ALT,ALP)       

· ตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile)           

· ตรวจโรคเก๊าท์ (Uric acid)                            

· ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urinalysis)           

· ตรวจหาพยาธิในอุจจาระ (Stool examination)   

· ตรวจการติดเชื้อเอช ไอ วี (Anti-HIV)               

· เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)                          

· ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี (Anti-HBs)       

· ตรวจหาหมู่เลือด (ABO Grouping) 

· ตรวจสุขภาพประจำปี
· ตรวจเบาหวาน ไขมันในเลือด
· ตรวจการทำงานของตับ ไต
· ตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
· ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
· ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Turmor Markers)
· ตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์อื่นๆ

· บริการเจาะเลือดถึงที่บ้าน     


นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับคู่รักหรือคู่สมรส วางแผนชีวิตวางแผนมีบุตรด้วยนะคะ 
  • ตรวจโรคธาลัสซีเมีย (CBC, Hb typing )
  • ตรวจไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg,Anti-HBs)
  • ตรวจการติดเชื้อเอชไอวี
  • ตรวจหาหมู่เลือดเอบีโอและหมู่อาร์เอช
  • ตรวจโรคซิฟิลิส
  • ตรวจโรคหัดเยอรมัน *** ตรวจสำหรับท่านหญิง***

            เวลาทำการ
                            จันทร์ - ศุกร์  เวลา 7.00 - 20.00 น.
                            เสาร์                เวลา 8.00 - 17.00 น.
                            อาทิตย์           เวลา 8.00 - 12.00 น.
                                ใกล้ๆ กับสี่แยกสะเมิง ห่างจากสี่แยกสนามบินเพียง 15 นาที
                                   141/6 ม.8 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230
                                    Phone: 053-125080, 085-7178242, 093-3182002
                            E-mail: ratchaphruek_lab@hotmail.com
                         www.facebook.com/ratchaphrueklab
Line ID: kittynidchy

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน



คููู่บ่าวสาวที่รักกันอย่างดูดดื่ม อาจตั้งคำถามว่า ทำไมต้องตรวจ ในเมื่อเรา 2 คนรู้จักประวัติกันมาดีมากพอ จำไว้ว่าการไปตรวจสุขภาพก่อนแต่งนั้น ไม่ได้มุ่งประเด็นไปที่การตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้ระแวงว่าคู่ชีวิตจะเป็นเอดส์เลย เพราะผลที่เรามุ่งหวังจริงๆ ก็คือ การตรวจเพื่อเช็คสภาพความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกาย เนื่องจากคนที่แต่งงานส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ระหว่าง 17-40 ปี คนวัยนี้มักจะมีสุขภาพค่อนข้างดี หรือถ้ามีโรคประจำตัวก็ยังไม่ปรากฏอาการให้เห็น เลยไม่ค่อยจะนึกถึงการตรวจสุขภาพมากนัก ทั้งที่ทุกวันนี้ โลกของเรามีโรคแปลกๆ เพิ่มมากขึ้น บางโรคเป็นโรคติดต่อร้ายแรง และยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าเราละเลยขั้นตอนนี้ไป ก็อาจเป็นไปได้ว่า เราคือคนหนึ่งที่เป็นพาหะนำโรคไปสู่ชีวิตคู่โดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาขึ้นมาดูโลกด้วย
เหตุผลของการตรวจก่อนแต่ง
1. สกัดกั้นการส่งผ่านโรคสู่คนที่เรารัก
เพราะโอกาสในการส่งผ่านโรคสู่กันและกันนั้นมีมาก ถ้าพบว่าใครสักคนเป็นโรคที่จะสามารถติดเชื้อจากการมีสัมพันธ์ทางเพศ ก็ควรรักษาให้หายก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรคเล็กน้อยหรือร้ายแรงเพียงใดก็ตาม โดยเฉพาะบางโรคซึ่งถ้าไม่ตรวจเลือดก็จะไม่รู้ เช่น ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี และเอดส์ การตรวจก่อนแต่งจึงเท่ากับช่วยลดความเสี่ยงและลดอัตราแทรกซ้อนความเจ็บไข้ได้ป่วยของคู่ชีวิตเรานั่นเอง
ตัวอย่าง เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าเชื้อเอดส์ถึง 100เท่า เนื่องจากปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเลือดสูงกว่าไวรัสเอดส์มา เช่น ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นเอดส์เพียงครั้งเดียว แล้วไม่มีการป้องกัน จะมีโอกาสเป็น 0.3-0.5% แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นไวรัสอักเสบบีเพียงครั้งเดียว แล้วไม่มีการป้องกันใดๆ โอกาสเป็นมีสูงถึง 10-20% ปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่ได้รับเชื้อชนิดนี้มากกว่า 5% หรือประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งโรคนี้จะไม่แสดงอาการใดๆ นอกจากไปตรวจเลือดถึงจะรู้ ทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสในการรักษา หรือมาตรวจอีกที ก็พบว่าอาการอยู่ในระยะ ที่ 2-3 แล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นตับแข็ง หรือถึงขั้นเป็นมะเร็งตับในที่สุด นอกจากนี้ ความน่ากลัวของไวรัสตับอักเสบบี ก็คือ สามารถติดต่อผ่านทางเลือด ทำให้เกิดการส่งผ่านโรคจากแม่สู่ลูกน้อยได้มากถึง 70% ดังนั้นทารกที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อ จะได้รับการฉีดกระตุ้นภูมิต้านทานทันทีหลังคลอด
2. ตรวจความพร้อมของคุณแม่มือใหม่
ถามตัวเองให้แน่ใจเสียก่อนว่า พร้อมจะมีลูกหรือยัง  รวมทั้งตรวจสภาพความพร้อมของร่างกายด้วยว่า อำนวยต่อการมีลูกแค่ไหน ในกรณีที่ยังไม่พร้อม  ควรศึกษาเรื่องการคุมกำเนิดให้ดี เพื่อการเลือกใช้ให้เหมาะสมว่า ใครจะเป็นคนคุม ภรรยาหรือสามี คุมไปนานเท่าไรจึงจะพร้อมมีลูก ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร และข้อห้ามทางสุขภาพของแต่ละคนด้วยว่าสามารถเลือกใช้วิธีนั้นๆได้หรือไม่
3. ความปลอดภัยของลูกน้อย
บางโรคสามารถส่งต่อ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปถึงลูกหลานได้ เช่น โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย โรคเลือดออกไม่หยุด เป็นต้น บางครอบครัวมีการส่งผ่านโรคมาหลายรุ่นแล้ว ดังนั้นการไปตรวจสุขภาพร่างกาย จะได้ทราบว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดที่ลูกจะเป็นโรคเหล่านั้น จะได้ตัดสินใจได้ถูกว่าควรมีลูกดีหรือไม่ ส่วนอีกโรคที่สำคัญมากสำหรับว่าที่คุณแม่ ก็คือ หัดเยอรมัน เพราะจะทำให้ลูกน้อยคลอดออกมาแล้วมีความผิดปรกติได้สูง
ดังนั้น ถ้าตรวจพบว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้ ก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันทันที และควรจะคุมกำหนดต่อย่างน้อย 3 เดือนหลังจากฉีดวัคซีน จะได้สบายใจว่า ขณะตั้งครรภ์ แม่และลูกจะปลอดภัยจากโรคนี้
นอกจากนี้ ถ้าหากว่าเจ้าสาวอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จงทำใจไว้ด้วยว่า ความเสี่ยงที่ลูกจะมีความผิดปรกติทางโครโมโซมแบบ Trisomy 21 หรือที่เรียกว่า Down's Syndrome จะสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรรีบมีลูกขณะที่อายุยังไม่มากถ้าร่างการพร้อม  และควรตรวจโครโมโซมของลูกขณะอยู่ในครรภ์ด้วย เพื่อจะได้ทราบสภาวะของทารกว่าปรกติดีหรือไม่
4. เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
ผู้หญิงที่มีโรคประจำตัว จะมีอัตราความเสี่ยงของโรคมากขึ้นถ้ามีการตั้งครรภ์ เช่น โรคหัวใจ  โรคไตวาย โรคธัยรอยด์  เป็นต้น ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเรามีสภาวะเหมาะสมพอที่จะตั้งครรภ์ได้หรือไม่
ทราบอย่างนี้แล้วก้อจุงมือกันไปตรวจก่อนแต่งกันดีกว่านะครับ

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี


ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี


หลายครั้งที่คุณอาจตั้งคำถามว่าทำไมต้องไปตรวจสุขภาพทุกๆปี ทั้งๆที่ร่างกายในปัจจุบันก็ยังแข็งแรงดี และบ่อยคั้งที่คุณอาจจะยังงงๆและสงสัยว่าในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้งจะต้องตรวจอะไรบ้างและควรแริ่มจากสิ่งใด เรามีคำตอบให้ในนี้ค่ะ
การตรวจสุขภาพก็เหมือนกับการประเมินสภาพร่างกายของเราค่ะว่า ภายในร่างกายเรายังแข็งแรงอยู่หรือไม่ หรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตหรือเปล่า และหากตรวจพบว่ามีอาการบางอย่างที่ส่อเค้าว่าอาจพบโรคบางโรคในระยะเริ่มต้น เราจะได้เตรียมปรึกษาคุณหมอเพื่อดูแลและรักษาสุขภาพให้ห่างไกลโรคแต่เนิ่นๆ ส่วนข้อจำกัดในการเลือกว่าจะตรวจสภาพร่างกายลักษณะใดนั้น สามารถแบ่งองค์ประกอบโดยขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และความเสี่ยงเป็นหลัก แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงการตรวจสภาพร่างกายมีหลายวิธี หากไม่มีข้อบ่งชี้ หรืิออาการที่แสดงออกมาก็สมควรที่จะต้องเลือกการตรวจวิเคราะห์สภาพร่างกายบางอย่าง เพราะการตรวจบางประเภทนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น หากต้องทำ CT Scan ทั้งตัวเพีื่อหามะเร็ง คุณอาจจะได้รับรังสีมากจนเกินไป ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ซึ่งเป็นข้อควรระวัง
ที่ผ่านมามีหลายคนที่ตรวจสุขภาพเสร็จแล้วแต่ไม่ทราบว่าต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือควรต้องระมัดระวังเรื่องอะไรบ้าง แสดงว่าคุณได้ประโยชน์แค่ครึ่งเดียว คือการค้นหาโรคที่อาจจะพบเจอจากการตรวจสุขภาพแต่คุณยังไม่ได้ป้องกันตัวเองจากโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขั้นภายหลังถ้าคุณไม่พึงระวัง
ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะเลือกรายการตรวจ เราต้องพิจารณาความเสี่ยง อายุ และเพศเป็นสำคัญ
เรามาดูกันค่ะว่าหลักๆมีอะไรบ้าง
Complete Blood Count
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด คือการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง รูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพีื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจางและการตรวจนับเม็ดเลือดขาว เพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย รวมถึงการตรวจเกร็ดเลือดเพื่อดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
Glucose
เบาหวาน คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อทำการคัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
Hemoglobin A1C
คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
Total Cholesterol
คือการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างสมบูรณ์ของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองและโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น
  • 1) HDL-Cholesterol ไขมันชนิดดีทำหน้าที่ป้องกัน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือด
  • 2) LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดีทำหน้าที่ควบคุมระดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • 3) Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการสังเคราะห์ที่ตับ สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • High Sensitivity C-Reactive Protein
    คือการตรวจเพื่อบอกถึงค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ Exercise Stress Echocardiography การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ขิดและ Echocardiogram เพื่อดูโครงสร้างจองหัวใจพร้อมทั้งลิ้นหัวใจ การบีบเลือดออกจากหัวใจ ทั้งก่อนและหลังการเดินสายพาน ทำให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขา ซึ่งจะบอกถึงความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในอนาคตได้
    Uric Acid
    คือการตรวจวัดระดับยูริคในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐานของโรคเก๊่าท์ โรคนิ่วในไต ส่วนสาเหตุที่ทำให้ระดับยูริคสูงขึ้นอาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก
    Blood Urea Nitrogen BUN
    คือการตรวจการทำงานของไต วัดระดับปริมาณของเสียที่ร่างกายปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากคุณมีโรคไตจะทำให้มีการคั่งของ Creatinine ในร่างกายซึ่งเป็นสารที่บ่งบอกถึงการทำงานของไต
    Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SG OT/AST)
    คือการตรวจการทำงานของตับ เอนไซม์ ที่พบได้จากเนื้อเยื่อของอวัยวะหลายชนิดได้แก่ หัวใจ กล้ามเนื้ิอ สมอง ตับอ่อน ม้ามและไต ซึ่งจะสูงขึ้นผิดปกติ เมื่อมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบของอวัยวะอันเนื้องมาจากการรับประทานยาบางชนิดหรือการบาดเจ็บของกระดูกเป็นต้น

    การตรวจหาไวรัสตับอักเสบ

    • ไวรัสตับอักเสบบี
    • การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทำได้โดยการตรวจ Hepatitis B Surface Antigen (HbsAg) และทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการตรวจ Hepatitis B Surface Antibody (Anti-HBs) สำหรับผู้ที่ไม่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื้อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    • ไวรัสตับอักเสบเอ
    • สามารถติดต่อได้จากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหาร ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบซึ่งสามารถทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้ โดยการตรวจ HAV LgG ซึ่งหากไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
    • ไวรัสตับอักเสบซี
    • การตรวจสำหรับไวรัสตับอักเสบซีเป็นการตรวจว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหรือไม่ โดยการตรวจ Anti HCV ถ้าตรวจพบว่าเป็น Positive แสดงว่ามีการติดเชื้อหรือเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบซี ต้องพบแพทย์เพื้อรักษาต่อไป

    การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง Tumor Marker

    Alpha-fetoprotein (AF) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งตับ ซึ่งถ้าหากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานก็ควรจะต้องทำการตรวจโดยละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับเพื่อยืนยันอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามผลการตรวจ AFP อาจสูงขึ้นกว่าปกติได้เล็กน้อยในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง
    Carcinoembrionic Antigen (CEA)
    เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ อาจพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยมะเร็ง ปอด ตับ ตับอ่อนและสามารถพบได้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน ภาวะตับแข็งหากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานต้องทำการตรวจโดยละเอียด เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
    Prostate Specific Antigen (PSA)
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจจะพบว่าสูงกว่าปกติได้ในผู้ป่วยที่มี่ต่อมลูกหมากโต ควรจะทำการตรวจ PSA ในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีและควรทำการตรวจเป็นประจำทุกปี
    CA125
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งรังไข่และอาจพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีถุงน้ำที่รังไข่ ก้อนเนื้อที่รังไข่หรือมีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งถ้าหากพบว่ามีค่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง ส่วนล่างหรือการส่องกล้องเพื่อตรวจภายในช่องท้อง
    CA15-3
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามการตรวจมะเร็งที่ได้ผลดีและเป็นที่น่าเชื่อถือมากกว่าคือการตรวจเอ็กซเรย์และอัลตราซาวน์เต้านม (Mammogram)
    CA19-9
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งตับอ่อนและทางเดินอาหาร หากพบว่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม
    Urine Examination
    การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจเพื่อดูการทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เพิ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรด ด่าง และการตรวจหาสารต่างๆที่จะปนมาในปัสสาวะ
    Stool Occult Blood
    การตรวจคัดกรองการเกิดมะเร็งลำไส้ มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ตั้งแต่ระยะแรกและหากพบว่ามีเลือดปนในอุจจาระต้องทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารโดยละเอียด

    วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    มารู้จักไวรัสตับอักเสบบีกันเถอะ

     ทางราชพฤกษ์แล็บ เป็นห่วงสุขภาพของท่าน จึงเรียนเชิญมารับการตรวจได้ทั้งตัวเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) และภูมิคุ้มกัน(HbsAb) ได้นะครับ โทร 053-442404, 0857178242